วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2552

มาตรฐานป้องกันอัคคีภัยของ NFPA

มาตรฐานป้องกันอัคคีภัยของ NFPA (National Fire Protection Association)
NFPA เป็นชื่อย่อของ National Fire Protection Association ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1896 หรือ 108 ปีมาแล้ว เป็นองค์กรชั้นนำของโลกที่สนับสนุนกิจกรรมด้านการป้องกันอัคคีภัย สำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นองค์กรที่ประกอบกิจกรรมโดยไม่แสวงหาผลกำไร (Non-Profit Organization) มีสมาชิกรายบุคคลทั่วโลกกว่า 75,000 ราย และมีองค์กรทางวิชาชีพและทางการค้าระดับนานาชาติเป็นสมาชิกกว่า 80 องค์กร
ภารกิจหลักของ NFPA คือ จัดทำและสนับสนุนการกำหนดมาตรฐาน ที่พัฒนามาจากสถิติและข้อมูลความเสียหายจริงของชีวิตและทรัพย์สิน อันเนื่องมาจากอัคคีภัยและอุบัติภัยต่างๆ ด้วยวิธีประชามติ การวิจัย การฝึกอบรม และการให้ความรู้ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะลดปัญหาและความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากอัคคีภัยและอุบัติภัยต่างๆ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรโลก
นอกจากนี้ NFPA ยังเป็นแหล่งรวมข้อมูลที่สำคัญด้านความปลอดภัยของสาธารณชน มาตรฐานความปลอดภัยของ NFPA กว่า 300 ประเภท ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ และนำมาใช้ในกระบวนการก่อสร้างและบริหารจัดการอาคารให้มีความปลอดภัย โดยครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบ ติดตั้ง ตรวจสอบ จนถึงการดับเพลิงเมื่อเกิดอัคคีภัย

โดยรหัสของมาตรฐานที่มีการใช้อย่างแพร่หลายได้แก่



NFPA 1, Fire Code

มาตรฐานที่สมควรติดตั้ง ในการป้องกันอัคคีภัย เพื่อความปลอดภัย และป้องกันความเสียหายแก่ทรัพย์สิน
โดยมีขอบเขตของเนื้อหาดังนี้
1) การตรวจสอบอาคารทั้งถาวร และชั่วคราว ในเรื่องของกระบวนการ เครื่องมือ และระบบ และสถานภาพต่างๆที่เกี่ยวข้องกับไฟ และความปลอดภัยของชีวิต
2) การสืบสวนข้อเท็จจริง กรณี เหตุการณ์ ไฟไหม้ ระเบิด และวัสดุอันตรายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุฉุกเฉิน
3) ทบทวนแบบก่อสร้าง และข้อกำหนดสำหรับระบบความปลอดภัย และระบบป้องกันอัคคีภัย การเข้าถึง ระบบจ่ายน้ำ กระบวนการของวัสดุอันตราย เรื่องอื่นๆที่เกี่ยวกับไฟ และความปลอดภัยของชีวิต
4) การให้การศึกษาในเรื่อง ไฟ และความปลอดภัยในชีวิต แก่อาสาสมัคร เจ้าหน้าที่ และบุคคลทั่ว
5) เงื่อนไข การออกแบบ และก่อสร้างอาคารใหม่ และการปรับปรุงสำหรับอาคารที่มีอยู่เดิม
6) การออกแบบ, ปรับปรุง, แก้ไข, ก่อสร้าง, บำรุงรักษา, และทดสอบเครื่องมือ และระบบป้องกันอัคคีภัย
7) ความต้องการทางเข้าสำหรับเจ้าหน้าที่ดับเพลิง
8) อันตรายจากเพลิงไหม้ภายนอก ในพืช ขยะ ซากปรักของอาคาร และวัสดุอื่นๆ
9) ระเบียบ ตลอดจนการควบคุมการจัดกิจกรรมพิเศษ ไม่รวมถึง การชุมนุมชน งานแสดงสินค้า สวนสนุก และกิจกรรมกลางแจ้งอื่นๆในลักษณะชั่วคราว และถาวร
10) วัสดุตกแต่งภายใน และเครื่องเรือน และวัสดุติดไฟง่าย ซึ่งมีส่วนทำให้ไฟลาม เป็นพาหะนำไฟ และทำให้เกิดควัน
11) การจัดเก็บ การควบคุม และการขนย้ายวัตถุไฟไว ทั้งชนิดก๊าซ ของเหลว และของแข็ง
12) การจัดเก็บ การควบคุม และการขนย้ายวัตถุอันตราย
13) การควบคุมการดำเนินงาน และสถานการณ์ฉุกเฉิน
14) ผลกระทบต่อความปลอดภัยของนักผจญเพลิง
15) การจัดการ การออกแบบ การก่อสร้าง และ เปลี่ยนแปลงวิธีการของทางออกใหม่ และที่มีอยู่เดิม


NFPA 54, National Fuel Gas Code

มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับการติดตั้งก๊าซเชื้อเพลิง


NFPA 70®, National Electric Code®

มาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้า ที่ทั่วโลกยอมรับ และใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุด



Life Safety Code®

การตรวจสอบมาตรฐานขั้นต่ำในการป้องกัน ไฟ ควัน และสารพิษ สำหรับอาคาร



NFPA 704

เป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ซึ่งกำหนดและรักษามาตรฐานโดย สมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติ (National Fire Protection Association) ของสหรัฐอเมริกา เพื่อป้องกันและเตือนถึงวัสดุอันตรายต่างๆ เครื่องหมายนี้เรียกง่ายๆ ว่า "เพชรไฟ" (fire diamond) เป็นการเตือนภัยส่วนบุคคลเพื่อให้ง่ายและรวดเร็วที่จะได้ทราบ ว่าเป็นวัสดุอันตรายชนิดใด มีวิธีการปฏิบัติหรือต้องการเครื่องมือเฉพาะอย่างไรบ้าง



ระดับความเป็นอันตราย

สุขภาพ
4 รุนแรงมาก : หากรับสัมผัสในเวลาสั้นๆ อาจทำให้ตายหรือบาดเจ็บอย่างรุนแรงถึงแม้ว่าจะได้รับการรักษาทันที
3 รุนแรง : หากรับหรือสัมผัสในเวลาสั้นๆถึงปานกลางอาจทำให้บาดเจ็บรุนแรงถึงปานกลาง ถึงแม้ว่าจะได้รับการรักษาทันที
2 ปานกลาง : หากรับสัมผัสสารที่เข้มข้นหรือเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดผลต่อสุขภาพหรือบาดเจ็บเล็กน้อยถ้าไม่ได้รับการรักษาทันที
1 เล็กน้อย : การรับสัมผัสสารอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือบาดเจ็บเล็กน้อยหากไม่ได้รับการรักษา
0 น้อยมาก : ไม่เป็นพิษ

ความไวไฟ
4 รุนแรงมาก :ติดไฟง่ายมาก จุดวาบไฟ <>
3 รุนแรง : ติดไฟได้ ภายใต้อุณหภูมิ และความดันปกติ
2 ปานกลาง : ติดไฟได้ถ้าได้รับความร้อนหรือที่อุณหภูมิสูง
1 เล็กน้อย : ติดไฟได้เล็กน้อยหากได้รับความร้อน
0 น้อยมาก : ไม่ติดไฟ

การเกิดปฏิกริยาเคมี
4 รุนแรงมาก : อาจระเบิดหรือทำปฏิกริยาได้ง่ายที่อุณหภูมิและความดันปกติ
3 รุนแรง : อาจระเบิดได้หากได้รับความร้อนสูงและอยู่ในที่อับ อาจทำปฏิกริยากับน้ำแล้วระเบิดได้
2 ปานกลาง : สารไม่เสถียรและอาจทำปฏิกริยารุนแรงหรือเกิดสารที่ระเบิดได้หากทำปฏิกริยากับน้ำ
1 เล็กน้อย : ปกติเป็นสารที่เสถียร แต่ที่อุณหภูมิและความดันสูง จะกลายเป็นสารที่ไม่เสถียร ทำปฏิกริยากับน้ำแล้วให้ความร้อน
0 น้อยมาก : ไม่ติดไฟ


วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2552





บทสัมภาษณ์ รุ่นพี่สถาปัตย์ สจล.

นายอานนท์ เรืองกาญจนวิทย์
กรรมการผู้จัดการ
บริษัท อาร์คิเทคเจอร์ ดีไซน์ อินโนเวชั่น จำกัด
ประวัติการศึกษา
• ระดับปริญญาตรี สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต, 2540 (สถ.บ.)
Bachelor of Architecture (B.Arch)
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
History of Architecture (M.Arch)
• ระดับปริญญาโท ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม, 2546
มหาวิทยาลัยศิลปากร

ผลงานการออกแบบวิชาชีพสถาปัตยกรรม
2541 ออกแบบและวางผังโครงการหมู่บ้าน Grand Canal ถ.ประชาชื่น
2543 โรงเรียนอนุบาลนานาชาติ เทพารักษ์ จ.สมุทราปราการ
2547 บ้านประหยัดพลังงาน คุณอนงค์รัตน์ คงลาภ บางซื่อ กรุงเทพฯ
2547 อาชวาลัย รีสอร์ท จ. พัทยา
2548 โชว์รูมเชฟโรเลฟ นวมินทร์ ถ.สุขาภิบาล 1 กรุงเทพฯ
2548 อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาประจำภาค จ.ร้อยเอ็ด
2549 อาคารสำนักงานสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย ถ.ราชพฤกษ์ กรุงเทพ




2549 อาคารสำนักงานเทศบาลเจ็ดเสมียน จ.ราชบุรี
2549 อาคารสำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลบางพลีใหญ่ จ.สมุทรปราการ
2549 อาคารชุดพักอาศัยข้าราชการศาลตุลากาล จ.พัทยา
2550 อาคารชุดพักอาศัยข้าราชการศาลตุลาการ จ.สมุทรสาคร
2550 อาคารชุดพักอาศัยข้าราชการศาลตุลาการ จ. ฉะเชิงเทรา
2551 อาคารสำนักงานสหกรณ์ออมทรัพย์ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
2551 สถานฑูตอินเดีย (ส่วนขยาย) ถ.สุขุมวิท 23 กรุงเทพฯ
2551 บ้านคุณวราพงษ์ เดชอมรธัญ ราษฎ์บูรณะ กรุงเทพฯ

เกียรติประวัติและผลงาน
2540 ได้รับคัดเลือก จัดแสดงผลงานวิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาตรี ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติ สิริกิตติ์
2544 รางวัล Grand prize, ประกวดแบบโครงการสถานทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ถนนสาทรเหนือ กรุงเทพฯ
2545 รางวัล Honorable Mention, Central Glass International Design Competition, ประเทศญี่ปุ่น
2546 วิทยากรรับเชิญบรรยายการประกวดแบบของ “ชมรมวันพุทธ” สมาคมสถาปนิกสยามในประบรม ราชูปถัมภ์
2547 ไดัรับคัดเลือกเป็น 1 ใน 20 สถาปนิก ในประเทศไทย เข้าร่วมทำ Workshop“Body architecture” ในงานสถาปนิก 47 เมืองทองธานี กรุงเทพฯ

ประวัติการทำงาน
2541-2542 บ. เจริญกิจ เอ็นเตอร์ไพร์ จำกัด
2543-2544 บ. จันทิมาพร จำกัด
2547-2550 บ.วิริยะ เอ็นเนอร์ยี ดีไซน์ อาร์คิเทคเจอร์ จำกัด
2551-ปัจจุบัน บ.อาร์คิเทคเจอร์ ดีไซน์ อินโนเวชั่น จำกัด


ผม: พี่จบปริญญาตรี จากคณะเราปีอะไรครับ
พี่อานนท์ : ปี 1997 ก็ ปี 40 แหละ ช่วงฟองสบู่กำลังแตกพอดี โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ไม่มี จบมาก็ตกงาน ช่วงนั้นก็ทำพอร์ต เก็บผลงานตัวเอง แล้วก็ไปเรียนภาษาอังกฤษเพิ่ม เกือบปีได้ ประมาณ 8 เดือน หลังจากนั้นก็ได้งานทำที่ เจริญกิจ เอ็นเตอร์ไพร์ ทำงานด้านอสังหาริมทรัพย์อยู่ 1 ปี ก็ไปเรียน ต่อปริญญาโท
ผม: ต่อโท เลือกที่เรียนยังไงครับ
พี่อานนท์: เลือกที่อยากเรียน ตอนนั้นอยากเรียนประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมมาก ชอบที่เรียนกับอาจารย์จิ๋ว ตั้งใจว่าจะเรียนประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมยูโรป กลายเป็นประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมไทยซะนี่ ก็เรียนประวัติศาสตร์แถบๆเอเชียทั้งหมด
เลือกเรียนประวัติศาสตร์เพราะสนใจเรื่องแนวความคิด อยากรู้ว่าคนโบราณเขาคิดกันยังไง ตอนนั้นที่อื่นไม่มี นอกจากศิลปากร ใช้เวลา 5 ปีจบ หลักสูตรที่ลงเรียนตอนนั้น ทำงานไปด้วยไม่ได้ ต้องรอจนจบคอร์สเวิร์ค แล้วก็ได้ทำงานที่บริษัทจันทิมาพร 2 ปี ก็ออกมาเพราะทีสีสจะไม่จบ พอจบแล้วไปทำงานที่บริษัทบุญนาค อาร์คิเทค ได้ เดือนนึง รู้สึกว่าไม่ใช่ เลยออกาทำงานกับ ดร.สุนทร ที่วิริยะ เอ็นเนอร์ยี ดีไซน์ ทำอยู่ 4 ปี ได้แนวคิดใหม่ๆ ที่ต่างจากลาดกระบัง เขาออกแบบโดยเน้นเรื่อง สภาพแวดล้อม รูปลักษณ์ วัสดุ และงานวิศวะกรรม มากว่าฟังก์ชั่น ไม่เหมือนลาดกระบัง ใช้อิมเมจ ภาพอาคารหยาบๆ มุ่งเน้นไปที่เป้าหมาย ไม่เน้นฟังก์ชั่น ใช้จับยัดเอา เด็กลาดกระบังไม่มีปัญหาอยู่แล้วเรื่องฟังก์ชั่น มาจัดเอาทีหลังได้ วิธีนี้ก็ไม่ใช่จะถูกต้องนัก แต่ต้องมองที่เป้าหมายหลักของเราคืออะไร

ผม: แล้วทำไมถึงได้เริ่มเปิดออฟฟิสเองครับ
พี่อานนท์: เปิดออฟฟิสเองเพราะคิดว่า ถึงเวลา มันถึงจุดอิ่มตัว พี่ออกแบบอาคารประหยัดพลังงาน แต่ก็ไม่ได้คำนวณเอง ไม่เหมือน ดร.สุนทร แต่พี่ก็ไม่ได้อยากเป็นแบบนั้น ไม่ได้อยากเป็นสถาปนิกกับวิศวกรในคนเดียวกัน พี่มีทางที่อยากเป็น ไม่ใช่ทางของลาดกระบัง และก็ไม่ใช่ทางของ ดร.สุนทร เลยมาเก็บเกี่ยวประสบการณ์ของตัวเอง โดยการเปิดออฟฟิส หาแนวร่วม เลยรวมทีมงานที่มีความสามารถหลากหลายเข้าด้วยกัน รวมความคิดกันจากหลายแง่ โดยชวนรุ่นพี่ รุ่นน้องจากลาดกระบัง มาเปิดออฟฟิสด้วยกัน เปิดออฟิสใหม่ๆ ก็เหมือนตอนเริ่มทำงานใหม่ๆ แต่ต่างกันที่ ห้ามพลาด เพราะความรับผิดชอบมันหลายด้าน รับผิดชอบต่อลูกค้าโดยตรง รับผิดชอบลูกน้อง ถึงเป็นษัทน้องใหม่ แต่การทำงานก็ต้องเป็นมืออาชีพ ต้องเข้าใจในเรืองของวิชาชีพ ทำงานมาก็10 กว่าปีแล้ว รู้เรื่องในวงการพอสมควร ทั้งเรื่องดีเรื่องไม่ได้ ก็เอาประสบการณ์มาใช้ในการทำงาน

ผม: พี่นนท์มีสไตล์การออกแบบที่ชอบเป็นพิเศษไหมครับ
พี่อานนท์: เรื่องรูปแบบมันเป็นจุดเริ่มต้น เป็นเรื่องขององค์ประกอบภายนอก ไม่ได้ติดใจสไตล์ใดเป็นพิเศษ แต่สนใจในเรื่องของแนวความคิดที่มีคุณค่า ความสวยงามของแนวความคิด มี Form ก็ต้องมี Content รายละเอียด บรรยากาศ กว้างกว่าสไตล์ งานสถาปัตยกรรมต้องมีคุณค่าที่ความคิด ออกมาจะสวยหรือไม่สวยอยู่ที่ทักษะขั้นสูง

ผม: ในสายตาของพี่ คณะมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
พี่อานนท์: เรื่องของคนมันเปลี่ยนมากกว่า ความคิดความอ่านสมัยนี้กัยสมัยก่อนมันต่างกัน สมัยนี้เทคโนโลยีมันกว้างไกล เด็กเดี๋ยวนี้ก็มีโลกทัศน์กว้างกว่าสมัยก่อน แต่ก็น่าเป็นห่วงเด็กสมัยนี้ เข้าเรียนเพราะสื่อ คิดว่า เรียนคณะนี้แล้ว เท่ บ้า สนุกสนาน เรียนง่าย สื่อเป็นตัวหลักดัน เด็กไม่ได้มีความเข้าใจและตัดสินใจเอง เพราะถ้าเราตั้งใจ และรักก็จะทำได้ดี แต่เด็กสมัยนี้ทำงานแค่ให้เสร็จ ไม่ได้รักกับงานจริงๆ มองเป็นเรื่องเล่นๆ แต่บางคนก็ใช้เทคโนโลยีเป็นประโยชน์ สิ่งที่กังวลตอนนี้ก็เป็นเรื่องของคนมากกว่า สิ่งแวดล้อมในคณะจะเปลี่ยนไป อาคารจะสร้างใหม่ก็สร้าง แต่ของเก่าๆ ก็น่าจะเก็บไว้ไม่ควรรื้อ

ผม: พี่ช่วยฝากอะไรถึงสถาปนิกรุ่นน้องหน่อยครับ
พี่อานนท์: เราทำงานเหมือนชาวสวน งานที่ทำก็เหมือนการปลุกไม้ผล ปลูกปีนี้ปีหน้าอาจจะยังไม่ได้กิน อาจได้กินอีก 5 ปี ข้างหน้า มันเป็นทักษะที่เกิดขึ้นสะสม เมื่อมีทักษะมากแล้วต่อไปการทำงานก็เหมือนการเก็บผลไม้กิน

“ทำอะไรก็ตามให้ตั้งใจเต็มที่ สุดท้ายย่อมได้สิ่งตอบแทน เป็นประสบการณ์ที่มีคุณค่า”