วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2552

มาตรฐานป้องกันอัคคีภัยของ NFPA

มาตรฐานป้องกันอัคคีภัยของ NFPA (National Fire Protection Association)
NFPA เป็นชื่อย่อของ National Fire Protection Association ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1896 หรือ 108 ปีมาแล้ว เป็นองค์กรชั้นนำของโลกที่สนับสนุนกิจกรรมด้านการป้องกันอัคคีภัย สำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นองค์กรที่ประกอบกิจกรรมโดยไม่แสวงหาผลกำไร (Non-Profit Organization) มีสมาชิกรายบุคคลทั่วโลกกว่า 75,000 ราย และมีองค์กรทางวิชาชีพและทางการค้าระดับนานาชาติเป็นสมาชิกกว่า 80 องค์กร
ภารกิจหลักของ NFPA คือ จัดทำและสนับสนุนการกำหนดมาตรฐาน ที่พัฒนามาจากสถิติและข้อมูลความเสียหายจริงของชีวิตและทรัพย์สิน อันเนื่องมาจากอัคคีภัยและอุบัติภัยต่างๆ ด้วยวิธีประชามติ การวิจัย การฝึกอบรม และการให้ความรู้ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะลดปัญหาและความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากอัคคีภัยและอุบัติภัยต่างๆ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรโลก
นอกจากนี้ NFPA ยังเป็นแหล่งรวมข้อมูลที่สำคัญด้านความปลอดภัยของสาธารณชน มาตรฐานความปลอดภัยของ NFPA กว่า 300 ประเภท ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ และนำมาใช้ในกระบวนการก่อสร้างและบริหารจัดการอาคารให้มีความปลอดภัย โดยครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบ ติดตั้ง ตรวจสอบ จนถึงการดับเพลิงเมื่อเกิดอัคคีภัย

โดยรหัสของมาตรฐานที่มีการใช้อย่างแพร่หลายได้แก่



NFPA 1, Fire Code

มาตรฐานที่สมควรติดตั้ง ในการป้องกันอัคคีภัย เพื่อความปลอดภัย และป้องกันความเสียหายแก่ทรัพย์สิน
โดยมีขอบเขตของเนื้อหาดังนี้
1) การตรวจสอบอาคารทั้งถาวร และชั่วคราว ในเรื่องของกระบวนการ เครื่องมือ และระบบ และสถานภาพต่างๆที่เกี่ยวข้องกับไฟ และความปลอดภัยของชีวิต
2) การสืบสวนข้อเท็จจริง กรณี เหตุการณ์ ไฟไหม้ ระเบิด และวัสดุอันตรายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุฉุกเฉิน
3) ทบทวนแบบก่อสร้าง และข้อกำหนดสำหรับระบบความปลอดภัย และระบบป้องกันอัคคีภัย การเข้าถึง ระบบจ่ายน้ำ กระบวนการของวัสดุอันตราย เรื่องอื่นๆที่เกี่ยวกับไฟ และความปลอดภัยของชีวิต
4) การให้การศึกษาในเรื่อง ไฟ และความปลอดภัยในชีวิต แก่อาสาสมัคร เจ้าหน้าที่ และบุคคลทั่ว
5) เงื่อนไข การออกแบบ และก่อสร้างอาคารใหม่ และการปรับปรุงสำหรับอาคารที่มีอยู่เดิม
6) การออกแบบ, ปรับปรุง, แก้ไข, ก่อสร้าง, บำรุงรักษา, และทดสอบเครื่องมือ และระบบป้องกันอัคคีภัย
7) ความต้องการทางเข้าสำหรับเจ้าหน้าที่ดับเพลิง
8) อันตรายจากเพลิงไหม้ภายนอก ในพืช ขยะ ซากปรักของอาคาร และวัสดุอื่นๆ
9) ระเบียบ ตลอดจนการควบคุมการจัดกิจกรรมพิเศษ ไม่รวมถึง การชุมนุมชน งานแสดงสินค้า สวนสนุก และกิจกรรมกลางแจ้งอื่นๆในลักษณะชั่วคราว และถาวร
10) วัสดุตกแต่งภายใน และเครื่องเรือน และวัสดุติดไฟง่าย ซึ่งมีส่วนทำให้ไฟลาม เป็นพาหะนำไฟ และทำให้เกิดควัน
11) การจัดเก็บ การควบคุม และการขนย้ายวัตถุไฟไว ทั้งชนิดก๊าซ ของเหลว และของแข็ง
12) การจัดเก็บ การควบคุม และการขนย้ายวัตถุอันตราย
13) การควบคุมการดำเนินงาน และสถานการณ์ฉุกเฉิน
14) ผลกระทบต่อความปลอดภัยของนักผจญเพลิง
15) การจัดการ การออกแบบ การก่อสร้าง และ เปลี่ยนแปลงวิธีการของทางออกใหม่ และที่มีอยู่เดิม


NFPA 54, National Fuel Gas Code

มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับการติดตั้งก๊าซเชื้อเพลิง


NFPA 70®, National Electric Code®

มาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้า ที่ทั่วโลกยอมรับ และใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุด



Life Safety Code®

การตรวจสอบมาตรฐานขั้นต่ำในการป้องกัน ไฟ ควัน และสารพิษ สำหรับอาคาร



NFPA 704

เป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ซึ่งกำหนดและรักษามาตรฐานโดย สมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติ (National Fire Protection Association) ของสหรัฐอเมริกา เพื่อป้องกันและเตือนถึงวัสดุอันตรายต่างๆ เครื่องหมายนี้เรียกง่ายๆ ว่า "เพชรไฟ" (fire diamond) เป็นการเตือนภัยส่วนบุคคลเพื่อให้ง่ายและรวดเร็วที่จะได้ทราบ ว่าเป็นวัสดุอันตรายชนิดใด มีวิธีการปฏิบัติหรือต้องการเครื่องมือเฉพาะอย่างไรบ้าง



ระดับความเป็นอันตราย

สุขภาพ
4 รุนแรงมาก : หากรับสัมผัสในเวลาสั้นๆ อาจทำให้ตายหรือบาดเจ็บอย่างรุนแรงถึงแม้ว่าจะได้รับการรักษาทันที
3 รุนแรง : หากรับหรือสัมผัสในเวลาสั้นๆถึงปานกลางอาจทำให้บาดเจ็บรุนแรงถึงปานกลาง ถึงแม้ว่าจะได้รับการรักษาทันที
2 ปานกลาง : หากรับสัมผัสสารที่เข้มข้นหรือเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดผลต่อสุขภาพหรือบาดเจ็บเล็กน้อยถ้าไม่ได้รับการรักษาทันที
1 เล็กน้อย : การรับสัมผัสสารอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือบาดเจ็บเล็กน้อยหากไม่ได้รับการรักษา
0 น้อยมาก : ไม่เป็นพิษ

ความไวไฟ
4 รุนแรงมาก :ติดไฟง่ายมาก จุดวาบไฟ <>
3 รุนแรง : ติดไฟได้ ภายใต้อุณหภูมิ และความดันปกติ
2 ปานกลาง : ติดไฟได้ถ้าได้รับความร้อนหรือที่อุณหภูมิสูง
1 เล็กน้อย : ติดไฟได้เล็กน้อยหากได้รับความร้อน
0 น้อยมาก : ไม่ติดไฟ

การเกิดปฏิกริยาเคมี
4 รุนแรงมาก : อาจระเบิดหรือทำปฏิกริยาได้ง่ายที่อุณหภูมิและความดันปกติ
3 รุนแรง : อาจระเบิดได้หากได้รับความร้อนสูงและอยู่ในที่อับ อาจทำปฏิกริยากับน้ำแล้วระเบิดได้
2 ปานกลาง : สารไม่เสถียรและอาจทำปฏิกริยารุนแรงหรือเกิดสารที่ระเบิดได้หากทำปฏิกริยากับน้ำ
1 เล็กน้อย : ปกติเป็นสารที่เสถียร แต่ที่อุณหภูมิและความดันสูง จะกลายเป็นสารที่ไม่เสถียร ทำปฏิกริยากับน้ำแล้วให้ความร้อน
0 น้อยมาก : ไม่ติดไฟ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น